วันอังคารที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2558

ระบบสนับสนุนการตัดสินใจทางการตลาด

ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support System)

          ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support System) เป็นระบบย่อยหนึ่งในระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ โดยที่ระบบสนับสนุนการตัดสินใจจะช่วยผู้บริหารในเรื่องการตัดสินใจในเหตุการณ์หรือกิจกรรมทางธุรกิจที่ไม่มีโครงสร้างแน่นอน หรือกึ่งโครงสร้าง ระบบสนับสนุนการตัดสินใจอาจจะใช้กับบุคคลเดียวหรือช่วยสนับสนุนการตัดสินใจเป็นกลุ่ม นอกจากนั้น ยังมีระบบสนับสนุนผู้บริหารเพื่อช่วยผู้บริหารในการตัดสินใจเชิงกลยุทธ์
          ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ ได้เริ่มขึ้นในช่วง ปี ค.ศ. 1970 โดยมีหลายบริษัทเริ่มที่จะพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อที่จะช่วยผู้บริหารในการตัดสินใจปัญหาที่ไม่มีโครงสร้างที่แน่นอน หรือกึ่งโครงสร้างโดยข้อมูลมีการเปลี่ยนแปลงตลอด ซึ่งระบบสารสนเทศเดิมที่ใช้ในลักษณะระบบการประมวลผลรายการ (Transaction processing system) ไม่สามารถกระทำได้ นอกจากนั้นยังมีวัตถุประสงค์เพื่อลดแรงงาน ต้นทุนที่ต่ำลงและยังช่วยในเรื่องการวิเคราะห์การสร้างตัวแบบ (Model) เพื่ออธิบายปัญหาและตัดสินใจปัญหาต่างๆ จนกระทั่งปี ค.ศ. 1980 ความพยายามในการใช้ระบบนี้เพื่อช่วยในการสนับสนุนการตัดสินใจได้แพร่ออกไป ยังกลุ่มและองค์การต่างๆ

ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ คืออะไร
DSS เป็นซอฟแวร์ที่ช่วยในการตัดสินใจเกี่ยวกับการจัดการ การรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล และการสร้างตัวแบบที่ซับซ้อน ภายใต้ซอฟต์แวร์เดียวกัน นอกจากนั้น DSS ยังเป็นการประสานการทำงานระหว่างบุคลากรกับเทคโนโลยีทางด้านซอฟต์แวร์ โดยเป็นการกระทำโต้ตอบกัน เพื่อแก้ปัญหาแบบไม่มีโครงสร้าง และอยู่ภายใต้การควบคุมของผู้ใช้ตั้งแต่เริ่มต้นถึงสิ้นสุดขั้นตอนหรืออาจกล่าวได้ว่า DSS เป็นระบบที่โต้ตอบกันโดยใช้คอมพิวเตอร์ เพื่อหาคำตอบที่ง่าย สะดวก รวดเร็วจากปัญหาที่ไม่มีโครงสร้างที่แน่นอน ดังนั้นระบบการสนับสนุนการตัดสินใจ จึงประกอบด้วยชุดเครื่องมือ ข้อมูล ตัวแบบ (Model) และทรัพยากรอื่นๆ ที่ผู้ใช้หรือนักวิเคราะห์นำมาใช้ในการประเมินผลและแก้ไขปัญหา ดังนั้นหลักการของ DSS จึงเป็นการให้เครื่องมือที่จำเป็นแก่ผู้บริหาร ในการวิเคราะห์ข้อมูลที่มีรูปแบบที่ซับซ้อน แต่มีวิธีการปฏิบัติที่ยืดหยุ่น DSS จึงถูกออกแบบเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน ไม่เพียงแต่การตอบสนองในเรื่องความต้องการของข้อมูลเท่านั้น
ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ

การพัฒนาของเทคโนโลยีสารสนเทศและการขยายตัวขององค์การธุรกิจช่วงทศวรรษ 1970 ทำให้หลายหน่วยงานในสหรัฐอเมริกา ได้เริ่มพัฒนาระบบสารสนเทศที่มีขนาดและเทคโนโลยีที่เหมาะสม เพื่อใช้ในการรวบรวมข้อมูลและแบบจำลองในการตัดสินใจต่างๆ ตลอดจนพัฒนาให้ระบบสามารถสื่อสารตอบโต้อย่างฉับพลันกับผู้ใช้ เพื่อช่วยในการตัดสินใจในปัญหาแบบกึ่งโครงสร้างและไม่มีโครงสร้าง โดยที่แนวความคิดนี้ได้เป็นรากฐานของการพัฒนาระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support Systems) หรือที่นิยมเรียกว่า DSS ในปัจจุบัน

การจัดการกับการตัดสินใจ
                เป็นที่ทราบกันดีว่าผู้จัดการในแต่ละองค์การจะต้องทำกิจกรรมต่างๆ อย่างมากมาย เช่น การเข้าประชุม การวางแผนงาน การติดต่อกับลูกค้า จัดงานเลี้ยงเปิดตัวสินค้า แม้กระทั้งในบางครั้งอาจจะต้องเป็นประธานในงานบวชหรืองานแต่งงานของผู้ใต้บังคับบัญชา โดยที่
                Henri Fayol ชาวฝรั่งเศสได้กล่าวถึงหน้าที่หลักในการจัดการ (Management Functions) ไว้ 5 ประการด้วยกัน คือ การวางแผน (Planning) การจัดองค์การ (Organizing) การประสานงาน (Coordinating) การตัดสินใจ (Deciding) และการควบคุม (Controlling) 
-                    การควบคุม
-                    การวางแผน
-                    การจัดองค์การ
-                    การตัดสินใจ
-                    การประสานงาน

หน้าที่ทางการจัดการ
                ในขณะที่ Mintzberg (1971) ได้กล่าวถึงบทบาททางการจัดการ (Manegerial Roles) ว่าเป็นกิจกรรมต่าง ที่ผู้จัดการสมควรจะกระทำขณะปฏิบัติหน้าที่ภายในองค์การ โดยที่กิจกรรมเหล่านี้สามารถถูกจัดออกเป็น 3 กลุ่ม คือ บทบาทระหว่างบุคคล (Interpersonal Roles) บทบาททางสารสนเทศ (Informational Roles) และบทบาททางการตัดสินใจ (Decisional Roles)

  บทบาทของผู้จัดการ
                การตัดสินใจเป็นหน้าที่และบทบาทหลักสำคัญของผู้บริหาร การที่องค์การจะประสบความสำเร็จ หรือประสบความล้มเหลวในการดำเนินกิจการต่างๆ นับว่ามีส่วนขึ้นอยู่กับการตัดสินใจในการเลือกโอกาสหรือแก้ปัญหาของผู้บริหารเป็นสำคัญ ผู้บริหารที่สามารถตัดสินใจได้อย่างถูกต้อง แม่นยำ และเหมาะสม ในแต่ละสถานการณ์ย่อมจะสามารถนำพาองค์การให้ปฏิบัติงานได้ด้วยดี และประสบความสำเร็จ ในทางตรงกันข้ามหากผู้บริหารตัดสินใจผิดพลาดหรือไม่เหมาะสมกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ก็อาจจะทำให้องค์การประสบปัญหาหรือความหายนะขึ้นได้ ประการสำคัญผู้บริหารที่สามารถตัดสินใจอย่างถูกต้องและเหมาะสมกับสถานการณ์ย่อมมีโอกาสที่จะได้รับ การยอมรับในความสามารถและได้รับการส่งเสริมให้ดำรงตำแหน่งที่สูงขึ้นไป

ส่วนประกอบของระบบสนับสนุนการตัดสินใจ

         ระบบสนับสนุนการตัดสินใจในระบบสารสนเทศทางการตลาด นั้น จะได้รับสารสนเทศจากหลายๆส่วน  ตามที่กล่าวมาแล้วในบทที่ 3  ได้แก่ ระบบข้อมูลภายใน  ระบบข่าวกรองทางการตลาดและระบบวิจัยทางการตลาด ซึ่งจะผ่านระบบการจัดการฐานข้อมูลเข้ามา   สามารถเขียนเป็นแผนภาพรวมการทำงานร่วมกันของระบบต่างๆ ได้ดังนี้


จัดทำโดย : นางสาวมณี  แสงส่งเจริญ

ที่มา : www.songkhla.go.th/songkhla52/km/km3000006.doc


ที่มา : http://courseware.payap.ac.th/docu/mk380/f5.5.htm


วันอังคารที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2558

การตลาดอิเล็กทรอนิกส์(E-Marketing)

การตลาดบนอินเทอร์เน็ต 

หรือที่เรียกว่า Internet Marketing เป็นการนำเอาเทคโนโลยีมาใช้ในองค์กรเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ในด้านของการตลาดโดยครอบคลุมทั้งมุมมองภายในและภายนอกองกรค์ ดังนั้นจึงทำให้เกิดผลลัพธ์ที่ได้มาจากการใช้เทคโนโลยี ทำให้เกิดการลงทุนทำตลาดบนอินเทอร์เน็ต อย่างเช่น เว็บไซต์และจดหมายอิเล็กทรอนิกส์


        แนวคิดทางการตลาดสมัยใหม่มองว่าการตลาดมองว่าการตลาดไม่ได้ เป็นแค่การโฆษณาหรือการขาย ตามปรัชญาทางการตลาดสมัยใหม่องค์กร ต้องดำเนินงาน  โดยให้ความสำคัญไปที่ลูกค้า  ทุกฝ่ายในองค์กรจะต้อง  ประสานร่วมมือกันทำกิจกรรมต่างๆเพื่อให้มั่นใจได้ว่าลูกค้าได้รับสินค้าหรือบริการตามความต้องการอย่างมีประสิทธิภาพ และ ประสิทธิผล โดยก่อให้     เกิดผลกำไร  ตามมาการริเริ่มนำอินเตอร์เน็ตมาใช้ในธุรกิจและการเริ่มต้นทำธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์ส่วนมากเกี่ยวข้องกับการทำวิจัยเพื่อทำความเข้าใจใน  ประสบการณ์ของลูกค้า  และปรับรูปแบบการบริการให้สอดคล้องกับประสบการณ์ของลูกค้า

การวางแผนการตลาดอิเล็กทรอนิกส์(E-marketing Planning)

  การวางแผนการตลาดอิเล็กทรอนิกส์(E-marketing Planning) เป็นสิ่งจำเป็นในการทำตลาดอิเล็กทรอนิกส์ อาจจะเป็นการวางแผนทำวิจัยตลาดหรือทำการสือสารทางการตลาดอิเล็กทรอนิกส์ เนื่องจากแผนงานทำการตลาดอิเล็กทรอนิกส์(E-Marketing Plan) อยู่บนรากฐานของกลยุทธ์หรือวัตถุประสงค์ของการทำธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์
   ขั้นตอนที่ควรจะกระทำเมื่อมีการพัฒนากลยุทธ์ทางการตลาดไปจนถึงการดำเนินการตามกลยุทธ์ทางการตลาด ดังรูป
รูปที่ 1.1 ตัวอย่างกรอบแนวคิดของการวางแผนทางการตลาดอิเล็กทรกนิกส์
จากรูป1.1 แสดงให้เห็นตัวอย่างกรอบแนวคิดของการวางแผนการตลาดอิเล็กทรอนิกส์ถึงกิจกรรมทางการตลาดอิเล็กทรอนิกส์จะชี้ให้เห็นถึงกลยุทธ์ของธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์ในทางกลับกันได้ชี้ให้เห็นถึงแผนงานทางการตลาดอิเล็กทรอนิกส์

การวิเคราะห์สถานการณ์ (Situation Analysis)

   เป็นการวิเคราะห์ถึงองค์ประกอบและสถานการณ์ที่สำคัญในปัจจุบันของสินค้าหรือบริการจุดประสงค์ของการวิเคราะห์สถานการณ์คือ เพื่อทำความเข้าใจถึงสภาพแวดล้อมที่เป็นอยู่ทั้งในปัจจุบันและในอนาคตของธุรกิจที่ดำเนินการอยู่ซึ่งจะทำให้ธุรกิจสามารถตั้งวัตถุประสงค์ที่เป็นจริง สอดคล้องกับสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นในตลาดได้

การกำหนดวัตถุประสงค์(Objective Setting)

  การกำหนดวัตถุประสงค์จะต้องมีการระบุให้ชัดเจน เพราะว่าจะส่งผลกระทบถึงองค์กรได้ถ้ากำหนดวัตถุประสงค์ไม่ชัดเจน เนื่องจากเป็นเครื่องมือที่ช่วยกำหนดทิศทางการทำงาน การสื่อสารไปยังตลาดเป้าหมายให้กับองค์กร คุณค่าของวัตถุประสงค์สามารถถูกทดสอบด้วยเครื่องมือที่มีชื่อว่า SMART mnemonic ตัวอย่าง เช่น วัตถุประสงค์ที่มีลักษณะ เฉพาะเจาะจง(Specific) วัดผลได้(Measurable) ประสบความสำเร็จได้จริง(Achievable) ปฏิบัติได้จริง(Realistic) และมีข้อจำกัดเรื่องเวลา(Time-Constraints)

 กลวิธี (Tactics)   

ความคิดหลักของการตลาดอิเล็กทรอนิกส์ ส่วนประสมทางการตลาด (Marketing Mix: 4P) จากมุมมองของลูกค้า ในแง่ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์ประกอบไปด้วย
     สินค้า(Product) เป็นความต้องการของลูกค้าที่มีเว็บไซต์เป็นกลไกสำหรับอธิบายว่าคุณค่าของสินค้าจะตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างไร
     ราคา(Price)ลูกค้าออนไลน์มีแนวโน้มที่จะเปรียบเทียบราคาสินค้ากับเว็บไซต์อื่นๆและแหล่งซื้อดั้งเดิมอื่น
     แหล่งจัดจำหน่าย(Place) ความสะดวกในขั้นตอนการสั่งซื้อและการตอบสนองต่อลูกค้าผ่านช่องทางออนไลน์
     การส่งเสริมการตลาด(Promotion) เป็นกลยุทธ์หรือเทคนิกต่างๆในการดึงดูดลูกค้าเข้ามายังไซต์เป็นตัวช่วยในเรื่องของการส่งเสริมการตลาดอิเล็กทรอนิกส์และมีส่วนช่วยผลักดันการตัดสินใจซื้อของลูกค้าได้ เช่น การโฆษณา(Advertising) การส่งเสริมการขาย(Sales Promotion) ประชาสัมพันธ์(PR) และการตลาดทางตรง(Direct Marketing)
ถูกเป็นส่วนหนึ่งในดำเนินกลยุทธ์ทางการตลาดโดยผู้เชี่ยวชาญทางการตลาด ส่วนผสมทางการตลาดถูกขยายเพิ่มเติมจาก 4Ps เป็น7ส่วน(7Ps)โดยอีก3ส่วนที่เพิ่มเข้าไปสะท้อนถึงการให้บริการได้แก่ บุคคล(People) กระบวนการ (Processes) หลักฐานทางการกายภาพ (Physical Evidence) ก็คือการออกแบบเว็บไซต์หรือบรรจุภัณฑ์ของสินค้า บุคคล กระบวนการ และหลักฐานทางการกายภาพเป็นสิ่งสำคัญในแง่ของการให้บริการ ดังนั้นมันจึงเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์ด้วย

กลยุทธ์ (Strategy)


    ธุรกิจจะดำเนินงานอย่างไรเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ วิธีหรือแนวทางในการดำเนินการนั้น คือ กลยุทธ์ซึ่งประกอบอยู่ในแผนการตลาดอิเล็กทรอนิกส์ กลยุทธ์เป็นปัจจัยสำคัญที่ผลักดันให้ธุรกิจประสบความสำเร็จ

ตัวอย่างกลยุทธ์ทางการตลาด


    จากภาพที่5 เป็นกลยุทธ์ในการแข่งขันในความแตกต่างเหนือคู่แข่งในแง่ของการตลาดอิเล็กทรอนิกส์สามารถถูกสื่อสารออกมาผ่านคุณลักษณะพิเศษทางออนไลน์(Online Value Proposition)

การดำเนินงาน(Actions)


     ส่วนประกอบของการดำเนินการตลาดอิเล็กทรอนิกส์หมายถึงกิจกรรมที่ผู้จัดการต้องปฏิบัติเพื่อให้แผนงานบรรลุผลสำเร็จ เมื่อมีการระบุว่าจะต้องดำเนินการอย่างไร ควรจะหาคำตอบในคำถามต่อไปนี้
  • ระดับการลงทุนของช่องทางออนไลน์เพียงพอต่อการให้บริการหรือไม่
  • ต้องมีการฝึกอบรมพนักงานหรือไม่
  • กิจกรรมไดที่เกี่ยวข้องกับการสร้างและการดูแลเว็บไซต์
   ในขั้นตอนนี้คือ การสรุปการดำเนินงานทั้งหมดที่ต้องการเกิดขึ้นในแผนการตลาดอิเล็กทรอนิกส์

การควบคุม (Control)


    ส่วนประกอบของการควบคุมในแง่แผนการตลาดอิเล็กทรอนิกส์สามารถทำผ่านการวิจัยตลาดเพื่อให้ได้มุมมองและความคิดเห็นของลูกค้ารวมถึงการวิเคราะห์ด้วยเครื่องมือของเว็บไซต์ ที่ใช้เทคโนโลยีในการควบคุมติดตามผลเพื่อประเมินว่าการดำเนินงานบรรลุวัตถุประสงค์หรือไม่
 กระบวนการประเมิน
  • การส่งเสริมธุรกิจ(กำไรที่ได้จากช่องทางออนไลน์-รายได้ ต้นทุน ผลตอบแทนจากการลงทุน)
  • ประสิทธิภาพทางการตลาด(ผลลัพธ์: ยอดขาย อัตราที่แสดงว่าเราขายสินค้าได้กี่ชิ้นจากจำนวนครั้งของการคลิกทั้งหมด ระดับพึงพอใจในช่องทางออนไลน์)
  • ประสิทธิภาพการตลาดอิเล็กทรอนิกส์(จำนวนครั้งที่คนเข้ามาเปิดเว็บไซต์ จำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์และอัตราที่แสดงว่าเราขายสินค้าได้กี่ชิ้นจากจำนวนครั้งของการคลิก)

จัดทำโดย : นางสาวมณี  แสงส่งเจริญ
 ที่มา : https://www.gotoknow.org/posts/335685

ระบบการวิจัยทางการตลาด




ระบบการวิจัยทางการตลาด
         
          ระบบการวิจัยทางการตลาด คืองานแสวงหาข้อมูลของผู้บริหารการตลาดที่ต้องการศึกษาปัญหาเฉพาะเรื่องที่ต้องการทราบ โดยไม่มีข้อมูลข่าวสารในท้องตลาดที่สามารถกรองมาได้ การวิจัยตลาดอาจใช้เครื่องมือช่วยหรือวานผู้เชี่ยวชาญในการทำวิจัยพร้อมสรุปผลให้ก็ได้
        1. วัตถุประสงค์ของระบบการวิจัยทางการตลาด   
  เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าและทำให้องค์กรทำกำไรได้ในระยะยาว
  เพื่อการวางแผนและควบคุมทางการตลาด
  เพื่อเพิ่มประสิทธิในการบริหารตลาดภายใต้สภาวะการแข่งขันสูง
  เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจทางการตลาดของผู้บริหาร
  - เพื่อเป็นการแก้ปัญหาให้กับผู้บริโภคในตลาด
               การวิจัยการตลาดสะท้อนให้เห็นถึงความต้องการขององค์ที่จะได้รับคำตอบของปัญหาที่สงสัยอยู่ ซึ่งไม่อาจหาคำตอบได้ด้วยประสบการณ์หรือลางสังหรณ์ แต่ต้องใช้เครื่องมือวิจัยช่วยในการตัดสินใจ เพื่อลดความเสี่ยงในการตัดสินใจและเพิ่มผลกำไรให้แก่องค์ในระยะยาว


                     


ระบบสนับสนุนการตัดสินใจทางการตลาด
              
           การสนับสนุนการตัดสินใจทางการตลาด  โดยทั่วไปมักตัดสินใจแก้ปัญหาหรือพิจารณาเรื่องทางการตลาดจากข้อมูลที่มีอยู่ บวกกับประสบการณ์และค่าคำนวณ ซึ่งต้องอาศัยการพิจารณาจากข้อมูลที่ซับซ้อนและอาจต้องใช้คณิตศาสตร์ชั้นสูงช่วยในการพิจารณา อาจเกิดความผิดพลาดได้เนื่องจากไม่มีตัวแบบสำเร็จรูปช่วยเหลือการใช้เครื่องมือช่วยสนับสนุนการตัดสินใจจะทำให้การตัดสินใจของผู้บริหารดีขึ้น มีเหตุผลขึ้น และรวดเร็วขึ้น
          ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ  เป็นระบบสารสนเทศคอมพิวเตอร์ ที่มีปฏิสัมพันธ์ ยืดหยุ่นและปรับตัว ซึ่งถูกพัฒนาขึ้นเพื่อสนับสนุนการแก้ปัญหาที่ไม่มีโครงสร้างหรือเพื่อปรับปรุงการตัดสินใจ
               เป็นระบบคอมพิวเตอร์ที่รวมคน กระบวนการ ซอฟท์แวร์ ฐานข้อมูลและเครื่องที่ถูกใช้เพื่อแก้ไขปัญหาเฉพาะ จะเน้นเรื่องประสิทธิผลของการตัดสินใจและสามารถเพิ่มศักยภาพในการเพิ่มผลกำไร ลดตันทุนและสร้างบริการหรือสินค้าที่ดีขึ้น

จัดทำโดย : นางสาวมณี  แสงส่งเจริญ
ที่มา: https://www.l3nr.org/posts/199186

วันจันทร์ที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2558

ระบบสารสนเทศทางการตลาด

   ผู้จัดการการตลาด  มีหน้าที่รับผิดชอบวิเคราะห์โอกาสทางการตลาด   วางแผนการตลาด   นำแผนไปปฏิบัติ
และควบคุมงานการตลาด ผู้จัดการการตลาดจำเป็นต้องทราบสารสนเทศที่เกี่ยวกับสภาพแวดล้อมทางการตลาด
ที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา   บทบาทของระบบสารสนเทศทางการตลาดมีดังนี้
          1)  ประเมินความจำเป็นและความต้องการสารสนเทศทางการตลาด  และประเภทของสารสนเทศที่ต้องการ
          2)  พัฒนาสารสนเทศให้สอดคล้องกับความจำเป็น    และความต้องการผ่านระบบสารสนเทศภายในกิจการ
                ระบบข่าวกรองทางการตลาด การวิจัยทางการตลาดและระบบการสนับสนุนการตัดสินใจทางการตลาด
          3)  กระจายสารสนเทศไปยังผู้จัดการการตลาดอย่างเพียงพอ      ตรงตามความจำเป็นและความต้องการใน
                เวลาที่ต้องการ
ระบบสารสนเทศทางการตลาด (Marketing Information System) ประกอบด้วย
          
1. ระบบสารสนเทศภายในกิจการ (Internal Records System) ประกอบด้วย  วงจรการสั่งซื้อและการ
เก็บเงิน  ระบบข้อมูลการขาย   เพื่อให้ผู้จัดการการตลาดทราบผลการดำเนินงานในปัจจุบัน
          
2. ระบบข่าวกรองทางการตลาด (Marketing Intelligence System)     เป็นกระบวนการที่ผู้จัดการการ
ตลาดจะใช้เพื่อให้ได้สารสนเทศเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมทางการตลาดในปัจจุบัน   และที่คาดว่าจะเกิดในอนาคต
เพื่อติดตามความเคลื่อนไหวของสภาพแวดล้อมอยู่ตลอดเวลา          เพื่อให้สามารถปรับกลยุทธ์ทางการตลาดให้
สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป
          
3. ระบบการวิจัยการตลาด (Marketing Research System)     หมายถึง     การออกแบบระบบการวิจัย
การเก็บรวบรวม   การวิเคราะห์    และการรายงานข้อมูล   การค้นหาคำตอบในสิ่งที่สนใจหรือเป็นปัญหาทางการ
ตลาดที่บริษัทกำลังเผชิญอยู่เพื่อค้นหาแนวทางแก้ไขปัญหา
          
4. ระบบการสนับสนุนการตัดสินใจทางการตลาด (Marketing Decision Support System)    ถือเป็น
กระบวนการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในการเก็บข้อมูล      วิเคราะห์ข้อมูลอย่างมีระบบและหลักเกณฑ์      โดยนำเอา
เทคนิคของการวิเคราะห์เชิงปริมาณและเครื่องมือทางคณิตศาสตร์และสถิติมาสร้างตัวแบบจำลอง  เพื่อนำมาใช้
หาผลลัพธ์หรือแนวทางที่เหมาะสมที่สุด