วันอาทิตย์ที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2558

กลยุทธการตลาดออนไลน์



จัดทำโดย : นางสาวมณี  แสงส่งเจริญ
ที่มา : https://www.youtube.com/watch?v=-Qay7jCbrKE

พื้นฐานการวางแผนกลยุทธ์




จัดทำโดย : นางสาวมี  แสงส่งเจริญ
ที่มา :   https://www.youtube.com/watch?v=luEKkvvqV9U

ส่วนประสมทางการตลาดประกอบด้วย 4 องค์ประกอบดังต่อไปนี้
 1. ผลิตภัณฑ์  (Product) หมายถึง  สิ่งที่เสนอขายโดยธุรกิจเพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดเป้าหมายให้เป็นที่พอใจ ซึ่งรวมถึงสิ่งที่ลักษณะทางกายภาพ และสิ่งที่ไม่มีลักษณะทางกายภาพ  ได้แก่  สินค้าพร้อมเงื่อนไขต่าง ๆ บริการ ความคิด สถานที่ บุคคล กิจกรรมและองค์การ  เป็นต้น
2. ราคา (Price) หมายถึง  มูลค่าสินค้าและบริการในรูปของตัวเงินหรือเป็นสิ่งที่ผู้ซื้อต้องจ่ายสำหรับการได้มาซึ่งบางสิ่ง ราคาสินค้าที่ธุรกิจกำหนดต้องมีความสอดคล้องกับส่วนประสมการตลาดอื่น ๆ และสอดคล้องกับต้นทุนตลอดจนสอดคล้องกับคุณภาพของสินค้าที่เสนอขาย   สอดคล้องกับรายได้และสถานภาพของผู้ซื้อ สภาวะเศรษฐกิจ ความจำเป็นในการใช้ ความสามารถในการใช้ทดแทนกันของสินค้าชนิดอื่นรวมทั้งสอดคล้องกับราคาสินค้าของธุรกิจคู่แข่งขันในตลาด ราคาสินค้าที่เหมาะสมจะช่วยดึงดูดและกระตุ้นปริมาณความต้องการซื้อสินค้าของลูกค้าได้มาก
3. การจัดจำหน่าย (Distribution)  หมายถึง การเคลื่อนย้ายสินค้าที่เป็นการเคลื่อนย้ายทางกายภาพและการเคลื่อนย้ายกรรมสิทธิ์ในสินค้าจากผู้ผลิตหรือผู้ขายไปยังตลาดเป้าหมาย  ด้วยช่องทางและสถาบันทางการตลาดที่เหมาะสม  และมีประสิทธิภาพ ได้แก่  ร้านค้าส่ง  ร้านค้าปลีก ตัวแทนจำหน่าย ผู้ประกอบการคลังสินค้าและขนส่ง  สถาบันการเงิน สถาบันประกันภัย  และธุรกิจโฆษณาเป็นต้น  ซึ่งการจัดจำหน่ายนี้ต้องเหมาะสมกับผลิตภัณฑ์  เหมาะสมกับพฤติกรรมการซื้อของตลาดและเหมาะสมกับนโยบายของธุรกิจ 
 4. การส่งเสริมทางการตลาด  (Promotion) หมายถึง  การติดต่อสื่อสารทางการตลาด (Marketing Communication) ระหว่างผู้ที่ต้องการขายสินค้ากับตลาดเป้าหมายเพื่อการแลกเปลี่ยนข้อมูล แจ้งให้ทราบ กระตุ้นหรือเตือนความจำ ตลอดจนสร้างเจตคติและพฤติกรรม การซื้อให้เป็นไปตามที่ธุรกิจต้องการ  หรืออาจกล่าวได้ว่าการส่งเสริมการตลาดเป็นความพยายามทางการตลาดในการเพิ่มปริมาณขายสินค้าของธุรกิจด้วยวิธีการต่าง ๆ ซึ่งมักใช้พร้อม ๆ กันหลายองค์ประกอบในสัดส่วนที่เหมาะสม และองค์ประกอบเหล่านั้นเรียกว่าส่วนประสมการส่งเสริมการตลาด (Promotional Mix)  ซึ่งประกอบด้วย
4.1  การโฆษณา (Advertising) เป็นการสื่อสาร การเสนอขายความคิดหรือการเสนอขายสินค้ากับผู้มุ่งหวังโดยไม่ใช้พนักงานขาย  และธุรกิจที่เป็นเจ้าของสินค้าเป็นผู้ออกค่าใช้จ่าย การโฆษณาใช้สื่อ (Media) ที่สามารถเข้าถึงผู้รับสารในคราวละมาก ๆ ได้แก่ โทรทัศน์ วิทยุ นิตยสาร หนังสือพิมพ์ เอกสารโฆษณา  แผ่นปิด  ใบปลิว  เป็นต้น
4.2  การส่งเสริมการขาย (Sales Promotion)  คือกิจกรรมที่กระตุ้นความสนใจให้ผู้บริโภคคนสุดท้ายทดลองใช้สินค้าหรือซื้อสินค้า กระตุ้นการขายของคนกลางทางการตลาดและกระตุ้นการใช้ความพยายามในการทำงานของพนักงานขาย กิจกรรมเหล่านี้ ได้แก่ การลดราคา การแลก การแจกตัวอย่าง การแถม การให้คูปอง การสาธิตสินค้า การแข่งขันและการชิงโชค  การจัดแสดงสินค้า  การแข่งขันการขาย  การจัดประชุม การให้ส่วนลดและส่วนยอมให้การฝึก
อบรมและการใช้อุปกรณ์ช่วยขาย  เป็นต้น
  4.3   การให้ข่าวและประชาสัมพันธ์ (Publicity and Public Relation) เป็นการเสนอความคิดและการติดต่อสื่อสารเกี่ยวกับสินค้าโดยไม่ใช้บุคคล  เพื่อส่งเสริมให้เกิดความสัมพันธ์และเกิดเจตคติที่ดีระหว่างธุรกิจกับชุมชน ได้แก่ การจัดทำรายงานประจำปีเพื่อแจกกับประชาชนทั่วไป การจัดประชุมสัมมนา  การเป็นผู้รับสนับสนุนการประกวดทางศิลปวัฒนธรรมและการแข่งขันกีฬา การช่วยเหลือชุมชนและสังคม  เป็นต้น
 4.4    การขายโดยพนักงานขาย (Personal Selling) เป็นการส่งเสริมการตลาดอีกวิธีหนึ่งที่นิยมกันมากโดยการเผชิญหน้าระหว่างพนักงานขายกับตลาดเป้าหมายเพื่อการเสนอขายสินค้า
  4.5   การตลาดทางตรงและการตลาดเชื่อมตรง (Direct Marketing and Online Marketing) การตลาดทางตรง เป็นการสื่อสารโดยตรงกับกลุ่มผู้บริโภคเฉพาะรายที่เป็นเป้าหมาย  เพื่อให้ได้รับการตอบสนองในทันทีทันใด  ส่วนการตลาดเชื่อมตรงเป็นการสื่อสารทางการตลาดโดยใช้ระบบคอมพิวเตอร์เชื่อมตรงระหว่างผู้บริโภคและผู้ขายด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์  เครื่องมือต่าง ๆ ซึ่งจะกล่าวรายละเอียดในบทต่อไป

 

จัดทำโดย : นางสาวมณี  แสงส่งเจริญ
ที่มา : http://www.skcc.ac.th/elearning/bc0203/?m=20120719

วันพุธที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2558

การแบ่งส่วนตลาด

การแบ่งส่วนตลาด (Market Segmentation)


ระดับของการแบ่งส่วนการตลาด (Levels of market segmentation) มี 6 ระดับ ดังนี้

  • การตลาดมวลชน (Mass marketing) เป็นการตลาดที่มุ่งความสำคัญที่มีการผลิตสินค้าในรูปแบบเดียวกันเป็นจำนวนมาก (Mass production) โดยนำออกวางตลาดให้ทั่วถึง (Mass distribution) และส่งเสริมการตลาดอย่างมาก (Mass promotion) โดยมองตลาดว่ามีความต้องการคล้ายคลึงกัน เป็นแนวคิดที่มุ่งความสำคัญที่การผลิต (Production-oriented) โดยมุ่งที่จะผลิตภัณฑ์สินค้าในรูปแบบเดียวกันจำนวนมาก เพื่อลดต้นทุนในการผลิต
  • การตลาดโดยมุ่งที่ส่วนของตลาด (Segment marketing) เป็นการใช้เครื่องมือการตลาดโดยมุ่งที่ส่วนของตลาด (Market segment) แนวคิดนี้อาจมองว่าตลาดมีความต้องการที่แตกต่างกัน บริษัทต้องจัดผลิตภัณฑ์และส่วนประสมทางการตลาดให้แตกต่างกันสำหรับแต่ละตลาดเป้าหมาย ในกรณีนี้จะก่อให้เกิดข้อได้เปรียบกับธุรกิจ เพราะผลิตภัณฑ์และส่วนประสมทางการตลาดจะสามารถสนองความต้องการของลูกค้าได้ดีขึ้น
  • การตลาดโดยมุ่งที่ตลาดกลุ่มเล็ก (Niche marketing) เป็นการใช้เครื่องมือการตลาดโดยมุ่งที่ตลาดกลุ่มเล็ก (Niche market) ซึ่งมีความต้องการที่เฉพาะเจาะจงเป็นกลุ่มที่แคบกว่าส่วนของตลาด (Market segment) เนื่องจากส่วนของตลาดมีขนาดใหญ่จึงมีคู่แข่งขันมาก แต่ตลาดกลุ่มเล็กนี้ (Niche market) จะมีคู่แข่งขันเพียงหนึ่งรายหรือไม่กี่รายเท่านั้น ตลาดกลุ่มเล็กจึงเป็นที่น่าสนใจสำหรับบริษัทเล็ก แต่อย่างไรก็ตามบริษัทใหญ่ก็สามารถใช้กลยุทธ์นี้ได้เช่นกัน ตลาดกลุ่มเล็กส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มที่มีรายได้สูง พร้อมที่จะจ่ายเงินซื้อสินค้าราคาแพง มีความต้องการที่เฉพาะเจาะจง เช่น มีคุณภาพดีเด่นเป็นพิเศษ
  • การตลาดท้องถิ่น (Local marketing) เป็นการใช้กลยุทธ์การตลาดเพื่อตอบสนองความต้องการของกลุ่มลูกค้าในท้องถิ่น เช่น ห้างสรรพสินค้าแต่ละสาขาจะจัดหาสินค้า และใช้กลยุทธ์การตลาดแตกต่างกัน ธนาคารแต่ละสาขาจะเน้นกลยุทธ์การให้บริการลูกค้าที่แตกต่างกัน การตลาดท้องถิ่นนี้จะยึดถือลักษณะด้านประชากรศาสตร์ (Demographics) ค่านิยมและรูปแบบการดำรงชีวิต (Value and lifestyles) ของแต่ละชุมชนหรือท้องถิ่น เป็นหลัก
  • การตลาดมุ่งเฉพาะบุคคล (Individual marketing) เป็นการใช้เครื่องมือการตลาดโดยมุ่งที่ลูกค้ารายใดรายหนึ่ง ตัวอย่างของธุรกิจที่ใช้กลยุทธ์นี้คือ บริษัทคอมพิวเตอร์มุ่งขายให้กับธนาคารหรือสถาบันการศึกษาหรือบริษัทใดบริษัทหนึ่ง ร้านตัดเสื้อซึ่งตัดเสื้อผ้าสำเร็จรูปส่งให้ร้านค้าปลีกร้านใดร้านหนึ่ง บริษัททัวร์จัดท่องเที่ยวให้กับครอบครัวหรือนักศึกษากลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง กลยุทธ์นี้อาจจะเรียกว่า การตลาดมุ่งเฉพาะกลุ่มลูกค้า (Customized marketing) หรือ การตลาดมุ่งเฉพาะบุคคล (One-to-one marketing) หรือ การตลาดหนึ่งส่วนตลาด (Segments of one)
  • การตลาดที่ลูกค้าต้องรับผิดชอบตัวเอง (Self-marketing) เป็นการตลาดที่ลูกค้าช่วยตัวเองในการซื้อสินค้า ซึ่งผู้บริโภคแต่ละรายต้องใช้ความรับผิดชอบมากขึ้นในการพิจารณาผลิตภัณฑ์และตราสินค้า เช่น การซื้อผ่านอินเตอร์เน็ต การสั่งซื้อสินค้าทางโทรศัพท์ การสั่งซื้อทาง Fax หรือ E-mail การสั่งซื้อสินค้าทางจดหมาย ฯลฯ
ทำโดย : นางสาวมณี  แสงส่งเจริญ
ที่มา : http://elearning.bu.ac.th/mua/course/mk212/ch6.htm

การวิเคราะห์โอกาสทางการตลาด

การวิเคราะห์ SWOT ANALYSIS นั้น จะต้องวิเคราะห์อยู่บนพื้นฐาน 2 อย่าง คือ 

space
1. BALK GROUD ของตัวผู้ประกอบการเอง
ว่ามีประสบการณ์อย่างไร มีจุดแข็งอย่างไรในตัวของคุณเอง
เช่น มีจุดเด่น ที่พูดคุย เป็นมิตรกับทุกคน
หรือชอบทำงาน GRAPHIC ได้ดี และเด่นกว่าคนอื่น
หรือ บุคคลิกดีสวยสะดุดตากว่าคนอื่น เป็นต้น 

2. จุดเด่นจุดด้อยอันเกิดจากลักษณะของธุรกิจเอง โดยผมจะวิเคราะห์ ให้ดูอีกสักหนึ่ง CASE เพิ่ม เป็นกรณีศึกษา

การวิเคราะห์สถานการณ์ (SWOT ANALYSIS)
 ตัวอย่างธุรกิจร้านงานด่วนในห้างสรรพสินค้า

space
จุดเด่น จุดแข็ง
1. เป็นธุกิจที่ลงทุนไม่มากคืนทุนได้เร็ว
2. กำไร 300-1500% นับว่าสูงมาก
3. เรียนรู้ได้ง่ายไม่ซับซ้อนจนเกินไป
แต่ผู้ประกอบการจะต้องชอบการทำงานกับคอมพิวเตอร์ ประเภทกราฟฟิก
4. จุดเด่นหลัก คือ ความเร็ว ลูกค้าสามารถรอรับได้เลย
5. ห้างสรรพสินค้ามีคนเดินมาก โอกาศได้งานมีสูง
6. เครื่องหนึ่งอย่างสามารถรับงานได้หลายประเภท
ทำให้เกิดงาน ประยุกต์ หลากหลายขึ้น โดยลงทุนเท่าเดิม
7. มีโปรแกรมลิขสิทธิ์ให้ใช้ควบคู่กับเครือของเรา
จุดอ่อน
1. ปัจจุบันมีความจริงจังเรื่องโปรแกรม ลิขสิทธ์มากขึ้น การใช้โปแกรมดีๆ
แต่ไม่ถูกต้องตามลิขสิทธ์ บางครั้งอาจเกิดปัญหาการถูกจับละเมิดได้
เช่น CORELDORAW, PHOTOSHOP,WINDOW
และโปรแกรมแท้ยังมีราคาสูงอยู่
2. เปิดร้านเริ่มต้นยังไม่มีลูกค้าประจำ จะต้องใช้กลยุทธมากขึ้น
เช่น วิธีการโปรโมทร้านค้า,เว็บบอร์ด,โปรเตอร์ในลิฟท์,ใบปลิว เป็นต้น
รอ 3-6 เดือน จะเริ่มมีลูกค้าประจำ
ในช่วงเริ่มต้นต้องคิดหาวิธี ทำการตลาดเชิงรุก เข้าไปด้วย
3. ค่าเช่าสูง และต้องมีค่ามัดจำด้วย ทำให้ลงทุนมากขึ้น
แก้ไขด้วยการ พูดคุยต่อรอง กับฝ่ายขายพื้นที่ หรือขอผ่อนผัน

 
โอกาส
1. ไม่มีร้านค้าประเภทเดียวกันในห้างที่คุณจะตั้งอยู่ ร้านค้าคู่แข่งอยู่นอกห้าง
ซึ่ง พฤติกรรมของคนในจังหวัดที่คุณอยู่นั้น คนชอบเดินเล่นในห้าง
2. ร้านค้าคู่แข่ง ไม่ได้บริหารงานด้วยตัวเจ้าของร้านเอง ร้านเก่า ทรุดโทรม
ขาดความน่าเชื่อถือ จุดนี้ เราสามารถ แข่งขันได้ อย่างแน่นอน เป็นต้น
3. ราคาขายของร้านคู่แข่งสูงมาก และเจ้าของร้านไม่ค่อยรับแขก
เพราะเปิดมานานแล้ว คิดว่ามีลูกค้าประจำ แต่ลูกค้าอาจหลุดมาร้านเราก็ได้
4.  เราใช้เทคโนโลยีล่าสุดทำให้ง่ายต่อการแบ่งปัน คุณภาพดีกว่าแน่นอน
และต้นทุนก็น่าจะต่ำกว่าด้วยเช่นกัน
อุปสรรค1. เป็นธุรกิจที่ลงทุนไม่มาก อาจมีคู่แข่งเกิดขึ้นภายหลังได้ 
ดังนั้นจึงต้องคิดให้ แตกต่างอยู่เสมอ
2. พื้นที่เช่าในห้างมีการแข่งขันสูง ทำให้หาพื้นที่สวยๆยากขึ้น
หรือ อาจได้ในราคาสูงเกินไป


ทำโดย : นางสาวมณี  แสงส่งเจริญ
ที่มา : 
http://www.108ideajobs.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=538775043









ระบบข่าวกรองทางการตลาด

ระบบข่าวกรองทางการตลาด (Marketing Intelligence System)

     ในการทำสงครามในอดีต  ทหารที่เป็นหน่วยรบแนวหน้ามักจะมีปัญหาที่คล้ายๆกันคือไม่รู้ว่าหนทางข้างหน้าเป็นอย่างไร   ข้าศึกเป็นอย่างไร    ไม่รู้เป้าหมายปลายทางว่ามีสถานการณ์อย่างไร  แม้ว่าจะเป็นทหารที่มีอาวุธครบมือก็ตาม แต่ถ้าไม่ทราบสถานการณ์ที่อยู่ภายภาคหน้า     หรือปฏิบัติภาระกิจโดยปราศจากการวางแผนมาล่วงหน้า    โอกาสที่จะสูญเสียย่อมมีสูง     ในการรบอาจมีเป้าหมายหลายประการ    แต่เป้าหมายประการหนึ่งที่ทหารทุกคนต้องการก็คือ รบชนะโดยสูญเสียให้น้อยที่สุด
        ดังนั้นในการทำการรบครั้งใดก็ตามต้องมีการแสวงหาข่าวสารข้อมูลจากฝ่ายตรงข้าม  จะด้วยวิธีการสืบเสาะแสวงหาใดๆ ก็แล้วแต่ ข้อมูลเหล่านั้นควรได้มาอย่างถูกต้อง  ข้าศึกมิล่วงรู้  หรือ เป็นข่าวโคมลอยชวนเชื่อ  แล้วจึงนำข้อมูลเหล่านั้นมาวิเคราะห์ถึงความเป็นไปได้ แล้วจึงวางแผนการรบ โดยมีเป้าหมายคือ ชัยชนะเหนือข้าศึกศัตรู
        ในการดำเนินธุรกิจอาจเปรียบได้กับการทำสงคราม   แต่ไม่มีการสูญเสียเลือดเนื้อ  การตลาดเปรียบได้กับทหารแนวหน้าที่ทำการรบเพื่อขยายดินแดนหรือส่วนแบ่งการตลาด   การทำการตลาดโดยปราศจากข้อมูลสารสนเทศ อาจนำมาซึ่งการสูญเสียโอกาสทางธุรกิจ  เสียเงินทอง  ทรัพยากรต่างๆ ในองค์กร   เช่น สูญเสียลูกค้า ให้กับคู่แข่ง  คู่แข่งตัดราคาสินค้า  ช่วงชิงส่วนแบ่งตลาดไป เปรียบเหมือนการสูญเสียดินแดนในการปกครอง  เพราะฉะนั้นในการดำเนินกิจกรรมทางการตลาดนอกจากจะ   “รู้เรา”  แล้วด้วยระบบการบันทึกข้อมูลภายในทางการตลาด   ก็ต้อง  “รู้เขา” ด้วยการแสวงหาข่าวสารทางการตลาดซึ่งจะต้องเป็นข้อมูลที่ได้รับการกลั่นกรองแล้วว่าเชื่อถือได้    เราจึงมักนิยมเรียกว่า ระบบข่าวกรองทางการตลาด ( Marketing Intelligence System)  ซึ่งควรมีวิธีการค้นหา รวบรวม จัดเก็บข้อมูลต่างๆ ที่มาจากแหล่งข่าวสารที่เชื่อถือได้อย่างเป็นระบบ

1. วัตถุประสงค์ของระบบข่าวกรองทางการตลาด (Purpose of  Marketing Intelligence System)   เพื่อค้นหาข้อมูลที่ตอบสนองความต้องการของลูกค้าให้พึงพอใจสูงสุดเพราะสามารถนำมาวิเคราะห์พฤติกรรมลูกค้าได้   ส่งผลให้การวางแผนกลยุทธ์ทางการตลาดมีประสิทธิภาพมากขึ้น       อีกทั้งยังช่วยให้องค์กรสามารถวิเคราะห์เปรียบเทียบจุดแข็งจุดอ่อนกับคู่แข่งในอุตสาหกรรมเดียวกัน      สามารถวิเคราะห์โอกาสและอุปสรรคในท้องตลาด ก่อให้เกิดความได้เปรียบในการแข่งขัน ด้วยการวางแผนกลยุทธ์ที่ดำเนินกิจกรรมทางการตลาดก่อนคู่แข่งและสกัดกั้นโอกาสของคู่แข่ง

2.  ขอบเขตของระบบข่าวกรองทางการตลาด ( Scope of  Marketing Intelligence System)

? การแสวงหาข้อมูลจากสิ่งแวดล้อมภายนอก (External Environment) หรือมหภาค เรียกอีกอย่างว่า
BPEST Analysis  ได้แก่  
- ข้อมูลจากธุรกิจอุตสาหกรรมเดียวกัน (Business or Industrial Analysis)
- ข้อมูลทางกฎหมาย การเมือง (Political and legal environment)
- ข้อมูลทางเศรษฐกิจและประชากรศาสตร์ (Economics and demographic  environment)
- ข้อมูลทางสังคมและวัฒนธรรม (Social and cultural environment)
- ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (Technology and natural environment)
? การแสวงหาข้อมูลจากสิ่งแวดล้อมในการดำเนินกิจการ (Task Environment with  Five Forces Model)
- ข้อมูลของผู้เข้าอุตสาหกรรมใหม่ (New entrants)
- ข้อมูลของบริษัทคู่ค้าหรือซัพพลายเออร์ (Suppliers)
- ข้อมูลของผู้ซื้อหรือลูกค้า (Customer)
- ข้อมูลของสินค้าทดแทน (Substitutes)
- ข้อมูลของคู่แข่งขันในอุตสาหกรรมเดียวกัน (Industrial  rivalry)
? การแสวงหาข้อมูลจากสภาพแวดล้อมในการแข่งขัน (Competitive environment)
- ข้อมูลต้นทุนการผลิตของคู่แข่ง (Production costs)
- ปริมาณการผลิตที่ประหยัด (Economies of scale)
- ขอบเขตการผลิตที่ประหยัด (Economies of scope)
- การประเมินค่าของผลิตภัณฑ์ที่แตกต่าง   (Extent  of  product differentiation)
- ความต้องการเงินทุน (Capital  requirements)
- ช่องทางการจัดจำหน่าย (Distribution Channels)
- ส่วนแบ่งทางการตลาด  , ส่วนแบ่งในใจลูกค้า (Share of market , share of mind)
- การจดจำและแยกแยะตราสินค้าของลูกค้า (Brand recognition)

       ระบบการแสวงหาข้อมูลทางการตลาดสามารถให้ข้อมูลที่เท็จจริงของคู่แข่งที่เกิดขึ้นในสภาพแวดล้อมภายนอกหรือในท้องตลาดแก่ผู้บริหารการตลาดได้ ซึ่งที่มาของข้อมูลมาจากแหล่งข้อมูลต่างๆ มากมายดังนี้

1. ข้อมูลจากบุคลากรภายในบริษัท  (Company’s personnel) นับตั้งแต่ผู้บริหาร  ทีมที่ปรึกษาหรือผู้เชี่ยวชาญ  พนักงานจัดซื้อ  พนักงานขาย  หรือพนักงานคนอื่นๆ
  
2. ข้อมูลจากกลุ่มซัพพลายเชนของบริษัท (Company’s supply chain)เช่น บริษัทคู่ค้า  ตัวแทนจำหน่าย   ลูกค้า  พันธมิตร ทางการค้า  พ่อค้าคนกลางต่างๆ  

3. ข้อมูลจากคู่แข่งขันทางการค้า (Competitors) เช่น  จากรายงานประจำปีของบริษัทคู่แข่ง  จากการให้ข่าว ให้สัมภาษณ์ทางสื่อต่างๆ ของคู่แข่ง   จากสินค้า  การโฆษณา การส่งเสริมการขายและการสื่อสารทางการตลาดของคู่แข่ง   เช่น เว็บไซต์   นิตยาสาร  วารสาร  จุลสาร เอกสารประจำบริษัท  แผ่นพับ  โบรชัวร์

4. ข้อมูลจากส่วนราชการ (Government sources) ข้อมูลจากสถิติวิจัย  การสำมะโน หรือกรม กอง ต่างๆ

5. ข้อมูลจากสื่อสาธารณะ (Publication and mass media) เช่น โทรทัศน์  วิทยุ หนังสือพิมพ์ วารสาร นิตยสาร  เว็บไซต์ ฯลฯ

6. ข้อมูลจากหน่วยงานบริการข้อมูล เช่น องค์กรวิจัย  บริษัทรับทำวิจัยข้อมูลธุรกิจ 

7. ข้อมูลจากฐานข้อมูลอีเล็กทรอนิกส์   CD-ROM หรือ ออนไลน์ ที่มีบริการตามศูนย์สารสนเทศต่างๆ

8. ข้อมูลจากอินเตอร์เนต (Internet)  โดยใช้เครื่องมือในการค้นหา  เช่น Search engines , Portal site , Web  boards ,   ห้องสนทนา หรือ Chat Room ฯลฯ
          ข้อมูลต่างๆที่ทำการสืบเสาะแสวงหาจากแหล่งข้อมูลต่างๆ  ทั้งที่ใช้และไม่ใช้เครื่องมือทางเทคโนโลยี  จะเป็นข้อมูลที่ได้รับการกลั่นกรองแล้ว  มีความเชื่อถือได้ในระดับหนึ่ง  บางข้อมูลสามารถนำไปใช้ตัดสินใจหรือประมวลผลได้เลย  แต่ข้อมูลบางอย่างอาจต้องมีการวิเคราะห์เพิ่มเติม   ตัวอย่าง เช่น

การวิเคราะห์การแข่งขัน  == เราควรรู้อะไรบ้างเกี่ยวกับคู่แข่งขัน===
- ใครเป็นคู่แข่งขันของเรา
- คู่แข่งของเราใช้กลยุทธ์ทางการตลาดอย่างไร
- วัตถุประสงค์ของเขาคืออะไร
- อะไรคือจุดอ่อน จุดแข็งของเขา
- เขาเหล่านั้นจะมีปฏิกริยาต่อไปอย่างไร

ทำโดย : นางสาวมณี  แสงส่งเจริญ
ที่มา : http://courseware.payap.ac.th/docu/mk380/f3.6.htm

การตลาดจุลภาค

การตลาดจุลภาค



1.สภาพแวดล้อมภายนอกธุรกิจ Internal Environment 

คือ สภาวะแวดล้อมที่ธุรกิจสามารถควบคุมได้ หมายถึง ปัจจัยต่าง ๆ ที่ธุรกิจสามารถกำหนด และ ควบคุมได้เป็นไปตามความต้องการของธุรกิจถือว่าเป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อ โปรแกรมการตลาด โดยการวิเคราะห์จุดแข็งจุดอ่อนของธุรกิจ ในการนำไปเปรียบเทียบกับคู่แข่งขัน
 
2.สภาพแวดล้อมภายในธุรกิจ External Environment

 ภาวะ แวดล้อมที่ธุรกิจไม่สามารถควบคุมได้ ปัจจัยกลุ่มนี้ หมายถึง ปัจจัยยังคับภายนอกธุรกิจที่มีอิทธิพลต่อระบบการตลาด ถือว่าเป็นปัจจัยที่ควบคุมไม่ได้แต่มีอิทธิพลต่อระบบการตลาด คือสร้างโอกาสหรืออุปสรรคแก่ธุรกิจ ซึ่งประกอบด้วย สิ่งแวดล้อมจุลภาค และสิ่งแวดล้อมมหภาค
 

 

 

 
 

สภาพแวดล้อมภายนอกธุรกิจระดับจุลภาค (Micro External Environment
 
        คือ ภาวะแวดล้อมภายนอกที่ธุรกิจไม่สามารถ ควบคุมได้ แต่สามารถเลือก ที่จะติดต่อและเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม แบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม
        - ตลาด หรือลูกค้า (Market)
        - ผู้ขายปัจจัยการผลิตหรือวัตถุดิบ (Suppliers)
        - คนกลางทางการตลาด (Marketing Intermediaries)
        - สาธารณชนและกลุ่มผลประโยชน์ (Publics)

สภาพแวดล้อมภายนอกธุรกิจระดับมหภาค (Macro External Environment)
 
        คือ สภาพแวดล้อมที่มีอิทธิพลต่อการดำเนินธุรกิจและต่อระบบการตลาดเป็นอย่างมาก แต่ละหน่วยงานและองค์กรธุรกิจไม่สามารถควบคุมการเพิ่มขึ้นหรือลดลงได้ แบ่งออกได้เป็น 4 ประการ ได้แก่
        - ด้านการเมืองและกฎหมาย 
        - เศรษฐกิจ
        - สังคม
        - เทคโนโลยี

การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมที่มีผลกระทบต่อการบริหารธุรกิจ


        SWOT (SWOT Analysis) เป็นเครื่องมือในการประเมินสถานการณ์ ซึ่งช่วยผู้บริหารกำหนดจุดแข็งและจุดอ่อนจากสภาพแวดล้อมภายใน โอกาสและอุปสรรคจากสภาพแวดล้อมภายนอกตลอดจนผลกระทบที่มีศักยภาพจากปัจจัย เหล่านี้ต่อการทำงานขององค์กร
1. S มาจาก Strengths หมายถึง จุดเด่นหรือจุดแข็ง ซึ่งเป็นผลมาจากปัจจัยภายใน เป็นข้อดีที่เกิดจากสภาพแวดล้อมภายในบริษัท เช่น จุดแข็งด้านส่วนประสม จุดแข็งด้านการเงิน จุดแข็งด้านการผลิต จุดแข็งด้านทรัพยากรบุคคล บริษัทจะต้องใช้ประโยชน์จากจุดแข็งในการกำหนดกลยุทธ์การตลาด 
2.  W มาจาก Weaknesses หมายถึง จุดด้อยหรือจุดอ่อน ซึ่งเป็นผลมาจากปัจจัยภายใน เป็นปัญหาหรือข้อบกพร่องที่เกิดจากสภาพแวดล้อมภายในต่างๆ ของบริษัท ซึ่งบริษัทจะต้องหาวิธีในการแก้ปัญหานั้น
3. O มาจาก Opportunities หมายถึง โอกาส ซึ่งเกิดจากปัจจัยภายนอก เป็นผลจากการที่สภาพแวดล้อมภายนอกของบริษัทเอื้อประโยชน์หรือส่งเสริมการ ดำเนินงานขององค์กร โอกาสแตกต่างจากจุดแข็งตรงที่โอกาสนั้นเป็นผลมาจากสภาพแวดล้อมภายนอก แต่จุดแข็งนั้นเป็นผลมาจากสภาพแวดล้อมภายใน นักการตลาดที่ดีจะต้องเสาะแสวงหาโอกาสอยู่เสมอ และใช้ประโยชน์จากโอกาสนั้น
4. T มาจาก Threats หมายถึง อุปสรรค ซึ่งเกิดจากปัจจัยภายนอก เป็นข้อจำกัดที่เกิดจากสภาพแวดล้อมภายนอก ซึ่งธุรกิจจำเป็นต้องปรับกลยุทธ์การตลาดให้สอดคล้องและพยายามขจัดอุปสรรค ต่างๆ ที่เกิดขึ้น

การวิเคราะห์เชิงกลยุทธ์ด้วย 

1) SO ได้มาจากการนำข้อมูลการประเมินสภาพแวดล้อมที่เป็นจุดแข็งและโอกาส มาพิจารณาร่วมกัน เพื่อที่จะนำมากำหนดเป็นยุทธ์ศาสตร์หรือกลยุทธ์เชิงรุก
2) ST ได้มาจากการนำข้อมูลการประเมินสภาพแวดล้อมที่เป็นจุดแข็งและอุปสรรค มาพิจารณาร่วมกัน เพื่อที่จะนำมากำหนดเป็นยุทธ์ศาสตร์หรือกลยุทธ์เชิงป้องกัน
3) WO ได้มาจากการนำข้อมูลการประเมินสภาพแวดล้อมที่เป็นจุดอ่อนและโอกาส มาพิจารณาร่วมกัน เพื่อที่จะนำมากำหนดเป็นยุทธ์ศาสตร์หรือกลยุทธ์เชิงแก้ไข
4) WT ได้มาจากการนำข้อมูลการประเมินสภาพแวดล้อมที่เป็นจุดอ่อนและอุปสรรค มาพิจารณาร่วมกัน เพื่อที่จะนำมากำหนดเป็นยุทธ์ศาสตร์หรือกลยุทธ์เชิงรับ

ทำโดย : นางสาวมณี  แสงส่งเจริญ
 
ที่มา
http://arsalgod.exteen.com/20130325/business-environment-3