วันศุกร์ที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2558

กระบวนการวิจัยตลาด

การวิจัยตลาด (Market Research)
        เป็นการรวบรวมและการวิเคราะห์ข้อมูลที่เป็นระบบ อันเกี่ยวข้องกับกลุ่มเป้าหมาย ทางการตลาดที่เฉพาะเจาะจง คู่แข่ง และ/หรือสภาพแวดล้อม ซึ่งมักจะเป็นการรวบรวม ข้อมูลในบางรูปแบบไม่ว่าจะเป็นการวิจัยขั้นทุติยภูมิ (Secondary Researchหรือที่ มักเรียกว่าการวิจัยบนโต๊ะ Desk Research ) หรือการวิจัยขั้นปฐมภูมิ (Primary Research) ซึ่งเป็นการรวบรวมข้อมูลโดยตรงจากผู้ตอบคำถาม
        จุดประสงค์ของโครงการวิจัยตลาดใดๆก็คือ เพื่อให้เกิดความเข้าใจในเรื่องที่ทำการศึกษาให้มากขึ้น จากภาวะการแข่งขันที่เข้มข้น ขึ้นทั่วทุกมุมโลก ปัจจุบันการวิจัยตลาดจึงอยู่ในระเบียบวาระในหลายๆองค์กร ไม่ว่าจะเป็นองค์กรขนาดเล็กหรือใหญ่ก็ตามจนการออกแบบสินค้าหรือบริการ

การวิจัยตลาดของทีมงาน ดีบีฟอบิสเนส ในด้านการวิจัยตลาด มีดังนี้

  • บริการจัดทำแบบสอบถามทั้งภาษาไทย อังกฤษ เกาหลี ญี่ปุ่น จีน และอื่นๆ
  • บริการแจกแบบสอบถาม และรวบรวมข้อมูล
  • บริการลงสำรวจพื้นที่ พร้อมทำรายงานความเป็นไปได้ในการทำธุรกิจต่างๆ

ขั้นตอนวิธีการวิจัยมีดังนี้

วิจัยตลาด marketing research

  • ขั้นปัญหา (Problem) เป็นการกำหนดชี้วัดลงไปว่ามีปัญหาที่แท้จริงคืออะไร
  • ขั้นตั้งสมมุติฐาน (Hypothesis) เป็นการคาดคะเนคำตอบที่คิดว่าน่าจะเป็นอย่างมีเหตุผล ก่อนที่จะตรวจสอบคำตอบที่แท้จริง ของคำตอบนั้นๆ
  • ขั้นรวบรวมข้อมูล (Collecting data) เป็นการศึกษา ค้นหาข้อมูลหรือข้อเท็จจริงต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับปัญหา เพื่อนำมาวิเคราะห์ต่อไป
  • ขั้นวิเคราะห์ข้อมูล (Analysis) เป็นการจัดกระทำกับข้อมูลที่รวบรวมมาได้โดยวิธีการทางสถิติหรือตรรกศาสตร์ เพื่อตรวจสอบว่า สมมุติฐานที่ตั้งไว้เป็นจริงหรือไม่
  • ขั้นสรุป (Conclusion) เป็นการสรุปผลจากการวิเคราะห์ข้อมูลว่าข้อเท็จจริงของปัญหานั้นคืออะไร

วัตถุประสงค์ของการวิจัยตลาด

        เพื่อทำการวิจัยตลาด เหล่าองค์กรอาจตัดสินใจทำโครงการวิจัยด้วยตนเอง ( บางองค์กรอาจใช้ฝ่ายการวิจัยตลาด) หรืออาจใช้บริการ บริษัทหรือที่ปรึกษาด้านการวิจัยตลาด ไม่ว่าจะเป็นแบบใดก็ตาม จำเป็นต้องมีการกำหนดเป้าหมายของการวิจัยใดๆก่อนที่จะทำการวิจัย ยกตัวอย่างเช่น ต้องการเรียนรู้อะไรจากการวิจัยและจำเป็นต้องรู้อะไรบ้าง
        หลังจากที่พิจารณาเรื่องของวัตถุประสงค์ การวิจัยตลาดสามารถนำเทคนิคและวิธีการวิจัยหลายๆแบบมาใช้เพื่อให้ได้้ข้อมูลที่ต้องการ ไม่ว่าจะเป็นวิธีการรวบรวมข้อมูลแบบเชิงข้อมูลปริมาณ (Quantitative information) และเชิงข้อมูลคุณภาพ (qualitative information) ซึ่งการนำแต่ละวิธีมาใช้จะขึ้นอยู่กับเป้าหมายของการวิจัย แต่ส่วนมากเชื่อว่าจะได้ผลลัพธ์ที่มีประโยชน์สูงสุดหากรวมสองวิธีนี้เข้าด้วยกัน
ทำโดย : นางสาวมณี  แสงส่งเจริญ
ที่มา: http://www.db4business.com/marketing_research.htm

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น